วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน
วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน

วิลยนอร์[1][2] สุพรหมัณยัม รามจันทรัน (ทมิฬ: விளையனூர் இராமச்சந்திரன் วิลยนูรฺ สุพฺรหฺมณฺยมฺ รามจนฺทรน อักษรโรมัน: Vilayanur Subramanian Ramachandran; เกิด พ.ศ. 2494) เป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันในสาขาพฤติกรรมประสาทวิทยา (behavioral neurology) และ จิตฟิสิกส์ (psychophysics) ดร.รามจันทรันปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของศูนย์สมองและการรับรู้ (Center for Brain and Cognition)[3][4][5]และศาสตราจารย์ในคณะจิตวิทยา[6] และคณะประสาทวิทยาศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา[7] ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกาดร.รามจันทรันมีชื่อเสียงในการทดลอง ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเช่นการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) แต่ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีที่ง่าย ๆ ดร.รามจันทรันก็ได้สร้างความคิดใหม่ ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำงานของสมอง[8]ริชาร์ด ดอว์กินส์ (ผู้เป็นนักชีววิทยาวิวัฒนาการที่มีชื่อเสียง) ได้เรียก ดร.รามจันทรันว่า "นายมาร์โก โปโล ของประสาทวิทยาศาสตร์" และเอริค แกนเดิล (ผู้เป็นแพทย์ประสาทจิตเวชผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000) ได้เรียกเขาว่า "นายพอล์ โบรคา[9] ในยุคปัจจุบัน"[10]นิตยสาร Newsweek (ข่าวสัปดาห์) ยก ดร.รามจันทรันให้เป็นสมาชิกสโมสรแห่งศตวรรษ (The Century Club) เป็นบุคคลเด่นที่สุดคนหนึ่งใน 100 คนที่ควรจะติดตามในคริสต์ศตวรรษที่ 21[11] ในปี ค.ศ. 2011 นิตยสารไทม์ ยกให้เขาเป็นหนึ่งในบรรดาบุคคล 100 คน ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกในรายชื่อ "ไทม์ 100"[12][13]ดร.รามจันทรันได้เขียนหนังสือหลายเล่ม ที่ก่อให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางจากสาธารณชน รวมทั้ง Phantoms In the Brain (อวัยวะแฟนตอมในสมอง)[14] (ค.ศ. 1999) และ The Tell-Tale Brain (สมองนักเล่านิทาน) (ค.ศ. 2010)

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน

ศิษย์เก่า แพทยศาสตร์บัณฑิต, ศัลยศาสตร์บัณฑิต (M.B.B.S.) จาก มหาวิทยาลัยมัทราส เมืองเจนไน; ปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
สถาบันที่ทำงาน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก (ศาสตราจารย์) และศูนย์สมองและการรับรู้ (Center for Brain and Cognition) (ผู้อำนวยการ)
งานที่เป็นที่รู้จัก ประสาทวิทยา, การรับรู้ทางตา, กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่, ภาวะวิถีประสาทเจือกัน, ออทิซึม, body integrity identity disorder
เกิด ค.ศ. 1951
รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
รางวัลที่ได้รับ เหรียญ Ariens Kappers จาก ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์; รางวัล Padma Bhushan จากประธานาธิบดีประเทศอินเดีย; BBC Reith Lectures, ค.ศ. 2003; ได้รับเลือกเป็นสมาชิกเยี่ยมเยียน (Visiting Fellows) ของ All Souls College อันเป็นสถาบันของ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด; ผู้ร่วมรับรางวัล Henry Dale Prize ปี ค.ศ. 2005 ของ ราชบัณฑิตยสถานบริเตนใหญ่
ถิ่นที่อยู่ เมืองซาน ดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สาขา ประสาทวิทยา, จิตวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน http://www.abc.net.au/rn/science/mind/stories/s135... http://www.mcgill.ca/beatty/past/mini http://s3.amazonaws.com/thesciencenetwork/SalkServ... http://neuroskeptic.blogspot.com/2012/04/bigender-... http://www.charlierose.com/view/interview/10468 http://www.expertwitnessblog.com/2007/10/brain_exp... http://www.flonnet.com/fl2306/stories/200604070054... http://books.google.com/?id=0Z0TAQAAMAAJ http://books.google.com/books?id=zCZUpYlozycC&pg=P... http://www.hindawi.com/journals/prt/2011/864605/